วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง 

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า
" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
 ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน
 ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
 บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา
 ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
 บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "

               ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทร
 ศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
               คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
 
               คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )
 
               คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
 
               คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
 
               คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
               เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐี
ทองกับส้ม
              พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อน
ตําแหน่งดังนี้
              พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้า
กรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
              พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายก
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
              พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็น
แม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
              พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
              พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล
จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปราม
เสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มี
พระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบาง
ยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มี
การมหรสพ
           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักร
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน
พ.ศ. 2325 ( วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรง
มีพระชนมายุได้ 45 ปี ทรงโปรดให้สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็น
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวง
อนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ


            สร้างกรุงเทพมหานคร
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ย้ายราช
ธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ( วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่า
ปีขาล ) คือ ทําพิธียกเขาเอก " เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่าง
จริงจังเมื่อ พ.ศ. 2326 ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชื่อเต็มว่า
 " กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรี
รมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ "

            สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ
           1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวัง
ออกไปได้อีก
           2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ
           3. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวาง
เป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก

              การสร้างพระบรมมหาราชวัง
           พ.ศ. 2326 สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
 
 
           พ.ศ. 2327 สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้ว ( และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต
จากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหา
ราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้าง
กรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราช
ทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก
 
            พ.ศ. 2328 หล่อปืนใหญ่ขึ้น 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ
สมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมาย

              ฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
              การปกครอง หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความ
ชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น
 
             ด้านกฎหมาย ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง ( คือ ตราราชสีห์
คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตาม
ตัวบทกฎหมาย
         
             การค้าขายกับต่างประเทศ ผลประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษี
อากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมือ
อีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัย
กรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า
             การสงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุง โดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตี
ไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และ
เมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่า แล้ว
โปรดฯ ให้แบ่งกองทัพเป็น 4 ทัพคือ
 กองทัพที่ 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์
 กองทัพที่ 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี
 กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลัาเลียงติดต่อกองทัพ
 กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วย
 
ทันที การสงครามครั้งนี้ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีไทยทีละทัพ ก็ถูกไทยตีแตกไปทุกทัพด้วยหลักยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า

             สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. 2328 )
             กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้น
เจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณ
หญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะ
เอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไป
เมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรี
ส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

             สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 )
             สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกอง
ทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนิน
การแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้
จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคน
ตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็น
จอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟัน
และจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่
             
             สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. 2330 )
 
             การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลา
ปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าว
ทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ 1
โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านใน
ทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญ
พระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์

            ไทยตีเมืองทวาย พ.ศ. 2330
 
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวาย
โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หมื่น ยกไปทางเหนือส่วน
พระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่ว
ข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้า
อิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวาย
เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย
 
             การรบที่เมืองทวาย พ.ศ. 2336
 
             รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็น
ฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรม
พระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมือง
มะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืน
ได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้ง
สองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยก
ทัพกลับไป

             พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2340
 
             พม่ายกทัพมาคราวนี้ 7 ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ 1 โปรด
ให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรง
โปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรง
บัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด
           
             ศาสนา
             พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม
และได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสัง
คายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง

            การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้านการติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325
            กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิง
ได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้ง
อาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็น
กษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"
             การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า การติดต่อกับเขมร
             นักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมรยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมร
ทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครอง
ประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระ
ยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล
" อภัยวงศ์ "
            การติดต่อกับประเทศตะวันตก ประเทศโปรตุเกส
           เป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราช
สาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสม
เกียรติ
             ประเทศอังกฤษ
             มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาล
ที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรง
แต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน
             พระราชนิพนธ์ งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1
 - กลอนนิราศท่าดินแดง
 - กลอนบทละครเรื่องอิเหนา
 - กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี
 - กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ
 - กฎหมายตราสามดวง
             เสด็จสวรรคต
             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ 27
ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่
7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระองค์มี
พระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์
            พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑
             เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น
พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์
เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ
พ.ศ. ๒๓๒๘

รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

              พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ

1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา

             พระราชกรณียกิจที่สําคัญ

พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346

              การทํานุบํารุงบ้านเมือง
              การปฎิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทานในพระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการค้า ที่ทําตามแบบเดิม คือให้พระคลังสินค้ามีอํานาจในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากํากับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกําหนดสักเลข และพระราชกําหนดห้ามมิสูบและขายฝิ่นสถาปัตยกรรม ขยายเขตพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา พระสมุทรเจดีย์ และสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่พระราชกรณียกิจลงสรง พระกําหนดพิธีวิสาขบูชา พระราชพิธีอาพาธพินาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทํานุบํารุงพุทธศาสนา เช่น การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนาสวดมนต์ การสร้างพระไตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น พระสุนทรโวหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง
             บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ ได้แก่
1. บทละครในเรื่องรามเกียรติ์
2. บทละครในเรื่องอิเหนา
3. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย
4. กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
5. บทกาพย์โขน ตอนนางลอย พรหมาสตร์ นาคบาศ และเอราวัณ
6. กลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

            การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

             การติดกับพม่า
             พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้
พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา

             การติดต่อกับญวน
             พ.ศ. 2353 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าเวียตนามยาลองกษัตริย์ญวน ได้แต่งตั้งให้ทูตเดินทางมาเคารพพระบรมศพ พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการเพื่อขอเมืองพุทธไธมาศกลับคืน จึงยอมให้เพื่อสมานพระราชไมตรี

              การติดต่อกับกัมพูชา ( เขมร )
              พ.ศ. 2353 สมเด็จพระอุทัยราชา กษัตริย์เขมร ถูกรัชกาลที่ 1 บริภาษไปเมื่อคราวเข้าเฝ้า จึงผูกใจเจ็บไว้ ครั้นรัชการที่ 1 สวรรคต จึงหันไปพึ่งอํานาจญวนด้วยสมเด็จพระอุทัยราชากลัวว่าไทยจะยกทัพไปปราบปราม ญวนให้นักองโปโหคุมทหารมากํากับเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาคิดเสียดายเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง จึงปรึกษากับญวนซึ่งมีนักองโปโหเป็นกองกําลัง นักองโปโหก็เสนอแนะให้ฟ้าทะละหะ ยกทัพไปไทยโดยทําทีว่าจะไปเก็บค้างคาวและยมศิลาตามประเพณี ถ้าเห็นว่าอ่อนแอก็ให้โจมตีเมืองพระตะบอง แต่ฝ่ายไทยไหวทัน จึงตีกองทัพเขมรแตกพ่ายไป

            การติดต่อกับจีน ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้ไปเจริญทางพระราชไมตรีถึง 2 ครั้งคือ
           พ.ศ. 2353 โปรดให้ราชทูตอันเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าเกียเข้งกรุงปักกิ่ง เพื่อให้จีนทราบว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
           พ.ศ. 2364 โปรดให้อัญเชิญพระราชสาส์น โดยมีพระยาสวัสดิสมุทร เป็นทูตไปแสดงความยินดีต่อพระเจ้าเตากวาง ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเกียเข้ง พร้อมคํานับพระศพด้วย

             การติดต่อกับโปรตุเกส
             พ.ศ. 2361 ประเทศโปรตุเกสแต่งตั้งให้ มร. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นทูตถือสาส์นนําเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้เป็น หลวงอภัยวาณิช

              การติดต่อกับสหรัฐอเมริกา
              พ.ศ. 2364 กัปตันแฮน เป็นพ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกได้ถวายปืนคาบศิลา 500 กระบอก จึงโปรดให้เป็น หลวงภักดีราช

             การติดต่อกับอังกฤษ
             พ.ศ. 2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษตั้งผู้สําเร็จราชการอินเดียคือ มาร์ควิส เฮสติงค์ ได้ส่งจอห์นครอว์เฟิด มาเจริญราชไมตรี ผลของการเจรจาไทยเห็นว่าอังกฤษเอาเปรียบทุกอย่างไทยเลย ไม่ติดต่อด้วย แต่ยังมีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ยินยอมทําตามระเบียบของไทย และค้าขายเรื่อยมาจนได้โปรดให้เป็น หลวงอาวุธวิเศษ

              เสด็จสวรรคต
              เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้วเจ้าอนุวงศ์หมดความเกรงกลัว เริ่มแข็งเมืองและเป็นกบฎขึ้นในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 คํ่า ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขณะนั้นทรงพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงเสวยราชย์สมบัติ 16 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์

               พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒
เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระ
บรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณ
คดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า[1]

พระราชประวัติรัชกาลที่ 3

King Nangklao.jpg
             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า[1] เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ซึ่งภายหลังพระราชชนนีได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระองค์เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี
ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา

พระราชประวัติ

ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาไลย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระราชชนกทรงรับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็ม ตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6"
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประกาศให้เฉลิมพระปรมาภิไธย เป็น "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3"[2]
ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน[3]
พระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Nangklao portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Rama4 portrait (cropped).jpgพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn.jpgพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh.jpgพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Ananda Mahidol portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    
เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3

พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

พระราชกรณียกิจ

พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

ด้านความมั่นค

พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด

ด้านการคมนาคม

ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน

ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น

ด้านการศึกษา

ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม

ด้านความเป็นอยู่

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่องๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสนาจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนพ.ศ. 2404

ด้านการค้ากับต่างประเทศ

พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจจะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก

ด้านศิลปกรรม

เรือสำเภาจีนที่วัดยานนาวา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว
สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้

เหตุการณ์สำคัญ

  • พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
  • พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
    • ลงนามในสัญญา เบอร์นี
    • เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
  • พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ. 2377
    • ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
    • ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร
  • พ.ศ. 2378 เกิดภาวะเงินฝืดเคือง
  • พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
  • พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยา ฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น
  • พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
  • พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394รวมพระชนมายุได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี